วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

แอมโมเนียรั่ว ระทึก โรงน้ำแข็งกบินทร์บุรี หามคนงาน ชาวบ้านส่งรพ.วุ่น



เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 4 เม.ย.62 พ.ต.ต.วิทูรย์ วงษ์ใหญ่ พนักงานสอบสวน สภ.กบินทร์บุรี ได้รับแจ้ง จากชาวบ้านว่า มีสารเคมีรั่วไหลภายในโรงงานน้ำแข็ง “บ่อทองไอซ์” เลขที่ 33/3 ม.8 ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากสารเคมีจำนวนหลายราย โดยมีอาการแสบตา หายใจไม่สะดวก และแน่นหน้าอก
หลังจากรับแจ้ง จึงได้รายงานให้ นายวัลลภ ประวัติวงศ์ นายอำเภอกบินทร์บุรี พ.ต.อ.วันชัย พิทักษ์ตันสกุล ผกก.สภ.กบินทร์บุรี เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกบินทร์บุรี เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสัจจะพุทธธรรมกบินทร์บุรี พร้อมรถดับเพลิงจาก อบต.บ่อทอง อบต.เมืองเก่า เดินทางไปยังที่เกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่พบคนงานในโรงงาน พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ต่างวิ่งหนีออกห่างจากที่เกิดเหตุ เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นจากสารเคมีที่รั่วไหล ทำให้เกิดอาการแสบตามผิวหนัง ตา หายใจไม่ออก ทางเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลจึงได้รีบนำตัว ส่งโรงพยาบาลพร้อมให้ผู้บาดเจ็บรีบทำความสะอาดร่างกาย ก่อนที่แพทย์จะให้การรักษา
ส่วนในที่เกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ระดมฉีดน้ำ เพื่อให้กลิ่นสารเคมีเจือจาง พร้อมเข้าทำการสอบถามรายละเอียดจากคนงานในโรงงานที่วิ่งหนีออกมาด้านนอก เพื่อต้องการทราบรายละเอียดและปริมาณสารเคมีที่รั่วไหล จากการสอบถามทราบว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นสาร “แอมโมเนีย” สำหรับทำน้ำแข็งได้เกิดรั่วไหลฟุ้งกระจายเป็นหมอกควัน แพร่กระจายทั่วบริเวณ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโรงแรม และรีสอร์ท ที่อยู่บริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่รั่วไหล เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ต้องขนย้ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
ต่อมา นายวัลลภ ประวัติวงศ์ นายอำเภอกบินทร์บุรี ได้ประสานเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสารธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี ได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันภัยจากสารเคมีพร้อมอุปกรณ์ เข้ามาช่วยดำเนินการปิดรอยรั่วสารเคมีภายในโรงงงานน้ำแข็งเป็นการด่วน เมื่อเจ้าหน้าที่จาก ปภ.เขต 3 เดินทางมาถึงพร้อมอุปกรณ์ป้องการสารเคมี ได้เดินเข้าไปตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุ พบว่ามีรอยรั่วจากท่อ “แอมโมเนีย” จำนวน 2 จุด ซึ่งต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงจึงสามารถปิดวาล์วลงได้ ส่วนสารเคมีที่รั่วไหลและกระจายรอบพื้นที่เกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ต้องทำการฉีดน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลิ่นสารเคมีเจือจาง ก่อนที่จะทำการอพยพประชาชนเข้ามาในพื้นที่
จากการสอบสวน ในเบื้องต้นทราบว่า โรงงานน้ำแข็ง “บ่อทองไอซ์” เป็นของนายวิวสิน รื่นฤดีปัญญา อายุ 60 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 33/3 ม.8 ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้ผลิตน้ำแข็งหลอดส่งลูกค้าในพื้นที่ หลังจากที่คนงานเลิกงานและทำการปิดเครื่องผลิตน้ำแข็งตั้งแต่ช่วงเย็นไปแล้ว คนงานเริ่มทำความสะอาดในพื้นที่โรงงานพบกลุ่มควันลอยอยู่บนหลังคาของโรงงาน พร้อมมีกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ทำให้เกิดอาการแสบตา แน่นหน้าอก คนงานทั้งหมดจึงวิ่งหนีออกมาจากโรงงานเพื่อเอาชีวิตรอด
นายวัลลภ ประวัติวงศ์ นายอำเภอกบินทร์บุรี กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นความผิดซึ่งหน้า ซึ่งตำรวจทราบอยู่แล้ว และจะให้นิติกร ของเทศบาลเมืองเก่าไปแจ้งความดำเนินคดีเพิ่มเติม ในข้อหาต่าง ๆ พ.ร.บ.สาธารณสุข และ พ.ร.บ.อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.โรงงาน
“พรุ่งนี้ต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง แต่ต้องดำเนินคดีกับเจ้าของ ซึ่งมีโทษค่อนข้างหนัก สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทราบคร่าว ๆ ว่า ถูกนำส่งโรงพยาบาลประมาณ 10 ราย และยังไม่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าอาการเป็นอย่างไร ขณะนี้ ปภ.เขต 3 สามารถเข้าไปปิดวาล์ว ได้แล้ว จำนวน 2 วาว ข้างในก็ไม่มีการรั่วไหลแล้ว ส่วนสาเหตุก็ทราบจากเจ้าของโรงงานว่า ท่อที่เดินข้างในแตก”
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ที่นำส่งโรงพยาบาลกบินทร์บุรี ทราบชื่อ นายจำเริญ บุญนา อายุ 59 ปี มีอาการแสบตา แสบจมูก นายจักรกฤษณ์ แดนศรี อายุ 16 ปี อาการแสบตา แสบตามร่างกาย แน่นหน้าอก และไม่ทราบชื่ออีก 1 ราย แพทย์ได้ให้ชำระล้างร่างกาย ก่อนดูอาการแล้วอนุญาตให้กลับบ้านได้.




วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่

ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมี ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่าสารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ (polyketides) คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยความสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย ยาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อพอลิคีไทด์ คลาสทู (polyketides Class II) เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย อันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในธรรมชาติ และไม่เพียงช่วยให้นักวิจัยทดลองสารพอลิคีไทด์ใหม่ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึงสิบชนิด.

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กินช็อกโกแลตไม่ได้ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อต่างประเทศหลายสำนักได้เผยแพร่ข่าวดีสำหรับคนรักช็อกโกแลต โดยระบุว่าทีมนักวิจัยนานาชาติพบข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการกินขนมหวานยอดนิยมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาร์กช็อกโกแลตนั้น สามารถจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดอาการไม่พึงประสงค์จากโรคซึมเศร้าได้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอันเป็นแหล่งที่มาของข่าวนี้ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิชาการ Depression and Anxiety กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีข้อบกพร่องในขั้นตอนดำเนินการศึกษาทดลอง จนทำให้สรุปผลผิดพลาด
รศ. ดร. เบน เดสบราว จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลีย แสดงความเห็นในบทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ The Conversation ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าการกินช็อกโกแลตจะช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า หรือช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าได้แต่อย่างใด
งานวิจัยต้นเรื่องซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย,จีน, ตุรกี, สเปน, ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ตัวเลขสถิติจากฐานข้อมูลสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนการกินช็อกโกแลตของประชากรส่วนใหญ่ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักตัวปกติและไม่ได้มีพฤติกรรมกินช็อกโกแลตมากจนเกินไปอีก 13,626 คน เพื่อดูว่าการกินช็อกโกแลตมีความสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่อย่างไร
ผลการวิเคราะห์พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง 11% ที่ได้กินช็อกโกแลตเข้าไปในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนตอบแบบสอบถาม แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 1.1% เท่านั้นที่บอกว่าเลือกกินดาร์กช็อกโกแล็ต ส่วนในเรื่องของสุขภาพจิตนั้น มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 7.4% ที่บอกว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้า
ความสัมพันธ์ของตัวเลขดังกล่าวทำให้ทีมผู้วิจัยสรุปว่า คนที่กินดาร์กช็อกโกแลตมีความเสี่ยงจะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 70% และหากยิ่งกินมากเป็นประจำ แนวโน้มที่จะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. เดสบราว ชี้ว่า "งานวิจัยนี้แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างการกินดาร์กช็อกโกแลตกับอาการของโรคซึมเศร้าในกลุ่มประชากรทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่ได้พิสูจน์ยืนยันโดยตรงว่า การกินดาร์กช็อกโกแลตเป็นสาเหตุที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าอย่างแน่ชัด"
ชอคโกแลตImage copyrightGETTY IMAGES
"นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าตนเองกินดาร์กช็อกโกแลตนั้นก็มีน้อยมากเพียง 1.1% ในจำนวนนี้คนที่เผยว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่แล้วก็มีเพียง 2 คน จึงยากที่จะสรุปได้ว่าการกินดาร์กช็อกโกแลตจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้จริง เพราะมีหลักฐานให้ตรวจสอบยืนยันไม่เพียงพอ"
"ปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตโดยเฉลี่ยราววันละ 12 กรัมในงานวิจัยนี้ ถือว่าต่ำเกินไปกว่าระดับที่จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนวิธีสำรวจว่าผู้คนกินช็อกโกแลตมากน้อยเพียงใด ด้วยการเจาะจงถามเฉพาะแต่ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น อาจไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมการกินที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นในระยะยาว"
แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าช็อกโกแลตช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเป็นคนรักช็อกโกแลตและต้องการจะบริโภคโดยคำนึงถึงน้ำหนักตัวและการรักษาสุขภาพร่างกายไปพร้อมกัน รศ.ดร. เดสบราวมีคำแนะนำดังนี้
"โดยทั่วไปแล้วควรเลือกรับประทานดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีผงโกโก้อยู่ 45% ขึ้นไป รวมทั้งเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของผลไม้และถั่ว โดยกินในปริมาณจำกัดและไม่เผลอไผลปล่อยให้ตัวเองกินมากจนเกินไป"

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

นักวิทยาศาสตร์สเปนเพาะเลี้ยงตัวอ่อน "ครึ่งคนครึ่งลิง" ในห้องแล็บจีน

ลิงวอก หรือ ลิงรีซัส (Rhesus macaque)
หนังสือพิมพ์เอลเปส์ (El Pais) ของสเปน เปิดเผยถึงกรณีลอบเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่มีทั้งเซลล์ของมนุษย์และลิงอยู่ในร่างเดียวกันเป็นครั้งแรกของโลก โดยรายงานว่านักวิทยาศาสตร์เชื้อสายสเปนได้ทำการทดลองดังกล่าวที่ห้องปฏิบัติการแห่งหนึ่งในประเทศจีน เพื่อหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมที่สั่งห้ามการกระทำเช่นนี้ในหลายประเทศทั่วโลก

สื่อของสเปนระบุว่า ศาสตราจารย์ฮวน คาร์ลอส อิซปิซูอา เบลมอนเต นักวิจัยประจำสถาบันซอลค์ (Salk Institute) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับนักวิจัยด้านวานรวิทยาของจีนในการสร้างตัวอ่อน "ครึ่งคนครึ่งลิง" ดังกล่าว เพื่อหาหนทางสร้างอวัยวะอะไหล่เช่นตับหรือไตที่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีความเหมาะสมสำหรับใช้รักษาโรคในมนุษย์ได้มากที่สุด
ก่อนหน้านี้ ศ. อิซปิซูอา ได้เคยทดลองสร้างตัวอ่อนไคเมรา (Chimera) หรือสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ของสัตว์ต่างชนิดพันธุ์ผสมกันอยู่ในร่างเดียวมาแล้ว โดยใช้วิธีฉีดเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ของมนุษย์เข้าไปในตัวอ่อนหมูและแกะที่มีอายุเพียงไม่กี่วัน เพื่อให้เกิดการสร้างอวัยวะที่เป็นเซลล์ของมนุษย์ขึ้น
อย่างไรก็ตาม การทดลองกับตัวอ่อนหมูและแกะของศ. อิซปิซูอา ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยเซลล์ของมนุษย์ไม่สามารถเติบโตเพิ่มจำนวนและคงอยู่ในตัวอ่อนของสัตว์ได้อย่างยั่งยืน ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าศ. อิซปิซูอาต้องการจะเปลี่ยนมาทดลองกับลิงซึ่งมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากกว่า
ข่าวการทดลองเลี้ยงตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งลิงนี้ สร้างความวิตกให้กับหลายฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่องประเด็นปัญหาทางจริยธรรม หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติให้นักวิทยาศาสตร์ทดลองเลี้ยงตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งหนูได้ ทั้งยังอนุญาตให้ตัวอ่อนไคเมราเติบโตจนครบกำหนดคลอดและลืมตามาดูโลกได้ด้วย
เคยมีการทดลองสร้างตัวอ่อนไคเมราที่มีเซลล์มนุษย์ผสมกับเซลล์ของสัตว์มาแล้วหลายชนิด ทั้งหนู แกะ วัว และหมู
ด้านผู้แทนจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งมูร์เซียของสเปน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันที่ให้ทุนสนับสนุนการทดลองครั้งนี้กล่าวว่า จะไม่มีการปล่อยให้ตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งลิงนี้เติบโตจนครบกำหนดคลอด แต่จะเพาะเลี้ยงเพียงให้มีอายุไม่เกิน 2 สัปดาห์ ก่อนจะทำลายทิ้ง เช่นเดียวกับการทดลองในตัวอ่อนหมูและแกะก่อนหน้านี้

ดร. อเลฮันโดร เด ลอสแอนเจลิส จากมหาวิทยาลัยเยลของสหรัฐฯ แสดงความเห็นกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การสร้างตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งลิงจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของมนุษย์ในตัวอ่อนไคเมรา เพื่อให้สามารถเจริญขึ้นเป็นอวัยวะมนุษย์อย่างยั่งยืนได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้พบว่าตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งแกะมีสัดส่วนเซลล์ของมนุษย์เพียง 1 ใน 10,000 เซลล์เท่านั้น
"อย่างไรก็ตาม การสร้างตัวอ่อนครึ่งคนครึ่งลิงอาจมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่นทำให้เราทราบถึงชนิดของสเต็มเซลล์ที่ควรนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงอวัยวะอะไหล่ ทั้งยังสามารถเป็นต้นแบบที่ดีในการศึกษาโรคประสาทและโรคสมองเสื่อมบางชนิดเช่นอัลไซเมอร์ ซึ่งปัจจุบันวิทยาการด้านนี้แทบไม่มีความก้าวหน้า เนื่องจากขาดแคลนตัวอย่างที่สมบูรณ์ในการศึกษา" ดร. เด ลอสแอนเจลิสกล่าว

สาเหตุการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการ

สาเหตุของการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการ 
สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการขาดความรู้ ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย จึงทำให้ขาดการ เตรียมพร้อมในการป้องกัน ไม่ให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และอุปกรณ์ฉุกเฉินในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังอาจจะมาจากการประมาท ในการปฏิบัติการกับสารเคมี 
 การจัดการเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากสารเคมี ความเที่ยงความแม่น หน่วยวัด และวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การทําปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัยจะต้องคํานึงถึงเรื่องใดบ้าง
   
 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 
3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
 4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
บนฉลากบรรุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายที่สื่อความหมายได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย สัญลักษณืแสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย คือ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National Fire Protection Association Hazard Identification System(NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งลักษณะทั้ง 2 ระบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนบรรจุภัณฑ์สารเคมี

 ระบบ GHS
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ระบบ ghs

  ระบบ NFPA
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ระบบ nfpa

ข้อควรปฎิบัตืในห้องปฏิบัติการ

การเรียนวิชาเคมีนอกจากจะเรียนภาคทฤษฎีแล้วจะต้องเรียนภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น การเรียนภาคปฏิบัตินอกจากจะช่วยเสริมภาคทฤษฎีดังกล่าวแล้วยังช่วยฝึกนิสัยการทำงานอีกด้วย เช่นฝึกให้รู้จักการทำงานด้วยความรอบคอบ รู้จักคิด รู้จักตัดสินปัญหาด้วยตนเอง รู้จักคุณค่าในสิ่งที่ต้องการจะรู้และรู้จักทำงานด้วยความปลอดภัย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การเรียนภาคปฏิบัติย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากมาย เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ฝึกฝนตัวเองและแสดงความสามารถพิเศษของตนออกมา 
โดยทั่วไปแล้วการเรียนภาคปฏิบัติมักทำในห้องปฏิบัติการทดลองเสมอ เพื่อให้การทดลอง ได้ผลดีหรือมีความผิดพลาดน้อยที่สุดและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ทดลองเอง จึงขอเสนอแนะข้อควรปฏิบัติทั่ว ๆ ไปในห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้ 
1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ห้องปฏิบัติการทดลองเป็นสถานที่ทำงาน ต้องทำการทดลอง ด้วยความตั้งใจ อย่างจริงจัง 
2. ต้องรักษาระเบียบบนโต๊ะปฏิบัติการ เพราะการทดลองจะผิดพลาดได้ง่ายถ้าบนโต๊ะ ปฏิบัติการไม่มีระเบียบ เช่น อาจหยิบหลอดทดลองผิด หรือในกรณีที่ทำสารหกจะต้องรีบทำความสะอาดทันที เครื่องแก้วหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วต้องล้างให้สะอาดแล้วเก็บเข้าตู้ เมื่อไม่ต้องการใช้ทดลองอีก นอกจากนี้การรักษาระเบียบบนโต๊ะปฏิบัติการยังสามารถช่วยลดอุบัติเหตุและยังเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาสิ่งของที่ต้องการอีกด้วย 
3. ต้องอ่านคู่มือปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะปฏิบัติการทดลองนั้น ๆ และพยายามทำ ความเข้าใจถึง ขั้นตอนการทดลองให้แจ่มแจ้ง หากมีความสงสัยในตอนใด ๆ จะต้องถามอาจารย์ ผู้ควบคุมเสียก่อน ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการทดลอง 
การอ่านคู่มือปฏิบัติการทดลองมาก่อนที่จะปฏิบัติการทดลองนั้น นับว่ามีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยประหยัดเวลาในการทดลองและผู้ทดลองจะทำการทดลองด้วยความเข้าใจ 
4. ต้องไม่ทำการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือไปจากการทดลองที่มีไว้ในคู่มือปฏิบัติการ หรือ ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ควบคุมเท่านั้น แต่ถ้าต้องการทำการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือไปจากหนังสือคู่มือหรือที่อาจารย์มอบหมาย จะต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้ควบคุมเสียก่อน 
5. อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้ผลการทดลองผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง 
6. อุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ เช่น สามขา ที่ยึดสายยาง ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการทดลอง นั้น ๆ จะต้องนำไปเก็บไว้ที่เดิมหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองแล้ว 
7. ควรทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามเวลาที่กำหนดให้เท่านั้น ไม่ควรทำงานใน ห้องปฏิบัติการเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะไม่มีใครทราบ และไม่อาจช่วยได้ทันท่วงที 
8. เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินออกจากขวดใส่ลงในบีกเกอร์ก่อน โดยริน ออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องการจะใช้ อย่ารินออกมามากเกินไปเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองสารโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าสารละลายที่รินออกมาแล้วนี้เหลือให้เทส่วนที่เหลือนี้ลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิมอีก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปะปนกัน 
9. ถ้ากรดหรือด่างหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างออกด้วย น้ำทันทีเพราะมีสารเคมีหลายชนิดซึมผ่านเข้าไปในผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความรู้สึกหรือเกิดพิษแตกต่างกัน 
10. อย่าทดลองชิมสารเคมีหรือสารละลาย เพราะสารเคมีส่วนมากเป็นพิษอาจเกิด อันตรายได้นอกเสียจากจะได้รับคำสั่งจากอาจารย์ผู้ควบคุมให้ชิมได้ 
11. อย่าใช้มือหยิบสารเคมีใด ๆ เป็นอันขาด และพยายามไม่ให้ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายถูก สารเคมีเหล่านี้ด้วย นอกเสียจากจะได้รับคำสั่งจากอาจารย์ผู้ควบคุมให้ปฏิบัติ 
12. อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นใด ๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำอย่างช้า ๆ พร้อมกับกวนตลอดเวลา 
13. เมื่อต้องการจะดมกลิ่นสารเคมี อย่านำสารเคมีมาดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสาร เคมีนั้นเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง ๆ) โดยถือหลอดที่ใส่สารเคมีไว้ห่าง ๆ 
14. ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นก๊าซพิษ เช่น ออกไซด์ของกำมะถัน ไนโตรเจนและ ก๊าซแฮโลเจน ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก็เป็นก๊าซพิษเช่นเดียวกัน การทดลองใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเหล่านี้ควรทำในตู้ควัน 
15. อย่าทิ้งของแข็งต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ เช่น ไม้ขีดไฟหรือกระดาษกรองที่ใช้แล้ว ฯลฯ ลงในอ่างน้ำเป็นอันขาด ควรทิ้งในขยะที่จัดไว้ให้ 
16. อย่านำแก้วอ่อน เช่น กระบอกตวง กรวยแยก ไปให้ความร้อน เพราะจะทำให้ละลาย ใช้การไม่ได้ 
17. อย่านำบีกเกอร์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมาใช้ตักน้ำดื่ม ถึงแม้ว่าจะดูสะอาดก็ตาม เพราะอาจมีสารเคมีตกค้างอยู่ 
18. หลังการทดลองแต่ละครั้งต้องล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนกินอาหาร เพราะในขณะทำการทดลองอาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายติดอยู่ก็ได้ 
19. ห้ามสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการ เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้สารที่ติดไฟง่ายติดไฟได้ หรืออาจทำให้อนุภาคของสารเคมีที่ระเหยกลายเป็นไอถูกเผาผลาญในขณะสูบบุหรี่ แล้วถูกดูดเข้าไปในปอด 
20. อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจมีสารเคมีปะปนกับอาหารที่รับประทาน เข้าไป เช่น อาจอยู่ในภาชนะที่ใส่อาหาร ภาชนะที่ใส่น้ำสำหรับดื่มหรือที่มือของท่าน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ 
21. เมื่อเสื้อผ้าที่สวมอยู่ติดไฟ อย่าวิ่ง ต้องพยายามดับไฟก่อนโดยนอนกลิ้งลงบนพื้น แล้วบอกให้เพื่อน ๆ ช่วยโดยใช้ผ้าหนา ๆ คลุมรอบตัวหรือใช้ผ้าเช็ดตัวที่เปียกคลุมบนเปลวไฟให้ดับก็ได้ 
22. เมื่อเกิดไฟไหม้ในห้องปฏิบัติการ จะต้องรีบดับตะเกียงในห้องปฏิบัติการให้หมด และ นำสารที่ติดไฟง่ายออกไปให้ห่างจากไฟมากที่สุด ซึ่งผู้ปฏิบัติการทดลองทุกคนควรจะต้องรู้แหล่งที่เก็บเครื่องดับเพลิงและรู้จักวิธีใช้ ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการนำมาใช้ได้ทันท่วงที 
23. หากผู้ทดลองเกิดอุบัติเหตุในขณะทำการทดลอง ต้องรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ต่ออาจารย์ผู้ควบคุม ไม่ว่าจะเกิดมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม 
24. ก่อนนำเอาสารละลายในขวดไปใช้ จะต้องดูชื่อสารบนฉลากติดขวดสารละลายอย่าง น้อยสองครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าใช้สารที่ต้องการไม่ผิด 
25. เมื่อจะใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายหรือสารที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาหรือสารที่มีกลิ่นเหม็น เช่น เบนโซอิล คลอไรด์ ฟอสฟอรัสไตรคลอไรด์ โบรมีน ฯลฯ จะต้องทำในตู้ควัน 
26. ภาชนะแก้วที่ร้อนจะดูคล้ายกับภาชนะแก้วที่เย็น ดังนั้นควรให้เวลานานพอสมควรใน การให้ภาชนะแก้วที่ร้อนเย็นลง 
27. น้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเคมีจะต้องใช้น้ำกลั่นทุกครั้ง แต่อย่าใช้ฟุ่มเฟือยเกินความ จำเป็น เช่น ใช้ล้างอุปกรณ์ เป็นต้น เพราะกว่าจะกลั่นได้ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก 
28. เมื่อใช้เครื่องควบแน่น อย่าไขน้ำเข้าเครื่องควบแน่นแรงนัก เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำ ไปโดยเปล่าประโยชน์ ควรไขน้ำเข้าเครื่องควบแน่นเบา ๆ ก็ได้ 
29. ขณะต้มสารละลายหรือให้สารทำปฏิกิริยากันในหลอดทดลอง จะต้องหันปากหลอดทดลองออกห่างจากตัวเองและห่างจากคนอื่น ๆ ด้วย 
30. การทดลองใด ๆ ที่ทำให้เกิดสุญญากาศ ภาชนะที่ใช้จะต้องหนาพอที่จะทนต่อความดันภายนอกได้ 
31. ขวดบรรจุสารละลายหรืออุปกรณ์อื่นใดที่มีตัวทำละลายอินทรีย์บรรจุอยู่ อย่าใช้จุก ยางปิดปากขวดเป็นอันขาด เพราะตัวทำละลายอินทรีย์กัดยางได้ทำให้สารละลายสกปรก และจะเอาจุกยางออกจากขวดได้ยาก เพราะจุกส่วนข้างล่างบวม 
32. อย่าทิ้งโลหะโซเดียมที่เหลือจากการทดลองลงในอ่างน้ำ เพราะจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำ อย่างรุนแรง จะต้องทำลายด้วยแอลกอฮอล์เสียก่อน แล้วจึงเททิ้งลงในอ่างน้ำ 
33. เมื่อการทดลองใดใช้สารที่เป็นอันตราย หรือเป็นการทดลองที่อาจระเบิดได้ ผู้ทดลอง ควรสวมแว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 
34. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง ต้องทำความสะอาดพื้นโต๊ะปฏิบัติการ ตรวจของในตู้และใส่ กุญแจให้เรียบร้อย แล้วล้างมือให้สะอาดก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ 
35. พึงระลึกอยู่เสมอว่า ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาท เลินล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้ 

ข่าว

เกิดสารเคมีไม่ทราบชนิด รั่วไหล บริเวณ ซอยกรุงเทพกรีฑา 35 เจ้าหน้าเร่งตรวจสอบ
วันนี้ (18 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งเหตุพบสารเคมีถูกทิ้งลงแหล่งน้ำ บริเวณหน้า บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ตรงข้ามซอย
กรุงเทพกรีฑา 35 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่เขตสะพานสูง ดับเพลิงหัวหมาก และห้วยขวางรุดที่เกิดเหตุ พร้อมนำเครื่องตรวจวัดสารเคมีเพื่อตรวจสอบ พบเป็นสารเคมีรั่วไหลออกมากจากบริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ลงไปที่บริเวณบ่อระบายน้ำด้านหน้าบริษัทจำนวน 3 บ่อ ทำให้น้ำในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ลักษณะของน้ำเป็นสีชมพู และบ่อที่ 3

ลักษณะเป็นสีดำมีคราบน้ำมันปะปน โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบชนิดของสารเคมีดังกล่าว และป้องกันสารเคมีรั่วไหลลงสู่คลองสาธารณะ ทั้งนี้ ได้มีการกั้นบริเวณโดยรอบเพื่อป้องกันเหตุและห้ามประชาชนเข้าใกล้ในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบเป็นสาร Kerosene ลักษณะเป็นของเหลวไวไฟ มีคุณสมบัติกัดกร่อน pH5 กระจายตัวในท่ออระบายน้ำหน้าโรงงานประมาณ 200 เมตร ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ใช้กระดาษซับสารที่อยู่บริเวณผิวหน้าและตักใส่ถุง และใช้สารสลายคราบไขมันฉีดพ่น เพื่อกำจัดคราบสารเคมี
MThai News
ขอบคุณภาพจากเจ้าหน้าที่ทหารจาก ชป.พท.ป.พัน.9 #ศูนย์วิทยุพระราม 199

แอมโมเนียรั่ว ระทึก โรงน้ำแข็งกบินทร์บุรี หามคนงาน ชาวบ้านส่งรพ.วุ่น

เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 4 เม.ย.62 พ.ต.ต.วิทูรย์ วงษ์ใหญ่ พนักงานสอบสวน สภ.กบินทร์บุรี ได้รับแจ้ง จากชาวบ้านว่า มีสารเคมีรั่วไหลภาย...